เกมแพลตฟอร์ม เป็นวิดีโอเกมที่เกี่ยวข้องกับการให้ตัวละครหรืออวตารกระโดดข้ามระหว่างแท่นที่แขวนอยู่ ข้ามอุปสรรค หรือทั้งสองอย่างเพื่อเดินหน้าไปตามเกม ความท้าทายเหล่านี้รู้จักกันว่าเป็นปริศนาก้าวกระโดด หรือฟรีรันนิง ผู้เล่นควบคุมการกระโดดเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวละครตกจากแท่นหรือพลาดจังหวะการกระโดดที่จำเป็น คุณสมบัติที่พบได้มากที่สุดในเกมประเภทนี้คือปุ่มกระโดด การกระโดดในเกมประเภทนี้อาจรวมถึงการโหนจากแขนยืดได้ อย่างในเกมริสตาร์ หรือไบโอนิกคอมมานโด หรือการเด้งจากกระดานสปริงหรือแทรมโปลิน อย่างในเกม อัลฟาเวฟส์ เกมที่มีการกระโดดให้อัตโนมัติอย่างเช่นเกม เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ไม่รวมอยู่ในเกมประเภทนี้ กมแพลตฟอร์มเริ่มขึ้นในต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 และด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติทำให้เกมเป็นที่นิยมในกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 คำว่าแพลตฟอร์มอธิบายถึงเกมที่ตัวละครกระโดดบนแท่นหรือแพลตฟอร์มเป็นส่วนหนึ่งของการเล่นเกมและเริ่มมีการนำมาใช้หลังจากเกิดเกมประเภทนี้ขึ้นก่อน ค.ศ. 1983 ประเภทนี้ไม่เป็นประเภทเกมโดยแท้ โดยเกมรูปแบบนี้มักจะมาคู่กับเกมประเภทอื่น ๆ เช่น เกมยิงอย่างเกม คอนทรา เกมผจญภัยอย่างเกม แฟลชแบ็ก หรือเกมสวมบทบาทอย่าง คาสเซิลเวเนีย: ซิมโฟนีออฟเดอะไนต์
แต่แสวงหาความเป็นอมตะจากพวกเขา ดังนั้นมหาอำมาตย์ทั้งหกของพระองค์ก็ใช้สิ่งนี้ต่อต้านพระองค์ และหลอกล่อให้พระองค์ตรึงเหล่าวีรชนบนต้นไม้ใหญ่ที่ก้นบึ้งของโลก หลังจากนั้นจักรพรรดิก็เสียพระทัยกับการกระทำนี้ และยังก่อความเศร้าโศกอีกหกครั้งก่อนที่พระองค์จะถูกสังหารโดยอำมาตย์ที่เคยทรงไว้เนื้อเชื่อใจ อย่างไรก็ตามก่อนที่พระองค์จะเสด็จสวรรคตพระองค์ได้ปลดเปลื้องความเศร้าโศกครั้งใหญ่ครั้งแรกของพระองค์และปล่อยวีรบุรุษที่ภักดีของพระองค์ออกจากต้นไม้ จากการปลดปล่อยอย่างลึกลับ ในตอนนี้ เหล่าวีรชนต้องออกเดินทางเพื่อทำลายเหล่าอำมาตย์ที่ทำให้จักรพรรดิเข้าพระทัยผิด เหล่าอำมาตย์กลายร่างเป็นสิ่งมีชีวิตที่น่ากลัวด้วยการขโมยความเป็นอมตะของวีรชน รวมถึงจัดเตรียมความเศร้าโศกอีกหกประการของจักรพรรดิ หากวีรชนคนโบราณไม่สามารถลบล้างการกระทำของจักรพรรดิได้ด้วยตัวของพวกเขาเอง แผนการอันบ้าคลั่งของพระองค์อาจฉีกโลกออกเป็นเสี่ยง ๆ เหล่าวีรชนออกเดินทางเพื่อทำลายจักรพรรดิ แต่มีความยุ่งยากบางอย่างและพลังทั้งหมดของพวกเขาจะถูกพรากไปจากที่นั่น โดยขึ้นอยู่กับผู้เล่นที่จะได้รับพลังกลับคืนมาและทำลายจักรพรรดิจอห์น โรเมโร และจอช ซอว์เยอร์ ผู้คร่ำหวอดในวงการเป็นผู้นำในสตูดิโอของบริษัทมิดเวย์ในแซนดีเอโก ตั้งใจที่จะฟื้นฟูแฟรนไชส์เกมแอ็กชันเล่นตามบทบาท (RPG) อย่างกอนต์เล็ต โดยทั้งโรเมโรและซอว์เยอร์ได้ออกจากบริษัทมิดเวย์เกมส์ก่อนที่เกมนี้จะเสร็จสิ้น ตัวละครสองตัวที่สร้างโดยโรเมโรและซอว์เยอร์ ได้แก่ แลนเซอร์และทราจีเดียน ถูกลบออกจากเกมในที่สุด
ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุขการศึกษา และดัชนีการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยในปี ค.ศ. 1638 หลังการพ่ายแพ้ของหลานชายของเจิ้ง เฉิงกง จากการบุกโจมตีทางทัพเรือของราชวงศ์ชิงแมนจูที่นำทัพโดยชื่อ หลางจากทางตอนใต้ของมณฑลฝูเจี้ยน ทำให้ราชวงศ์ชิงผนวกยึดเกาะไต้หวันมาเป็นส่วนหนึ่งได้สำเร็จ และวางไว้ภายใต้เขตอำนาจของมณฑลฝูเจี้ยน ราชสำนักของราชวงศ์ชิงพยายามลดการละเมิดลิขสิทธิ์และความไม่ลงรอยกันในพื้นที่โดยออกกฎหมายเพื่อจัดการตรวจคนเข้าเมืองและเคารพสิทธิในที่ดินของชนพื้นเมืองไต้หวัน ผู้อพยพจากฝูเจี้ยนทางใต้ส่วนใหญ่ยังคงเดินทางไปไต้หวัน เขตแดนระหว่างดินแดนที่เสียภาษีและสิ่งที่ถูกพิจารณาว่าเป็นดินแดน “เขตอันตราย” เปลี่ยนไปทางทิศตะวันออกโดยชาวพื้นเมืองบางคนเข้ารีตรับวัฒนธรรมแบบจีน ในขณะที่คนอื่น ๆ ถอยกลับเข้าไปในภูเขา ในช่วงเวลานี้มีความขัดแย้งจำนวนมากระหว่างกลุ่มชาวจีนฮั่นด้วยกันเองจากภูมิภาคต่าง ๆ ของฝูเจี้ยนทางใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างเฉวียนโจวกับฉางโจว และระหว่างฝูเจี้ยนตอนใต้และชาวพื้นเมืองไต้หวัน
ประชากรที่เล่นโกะในจีนประมาณว่ามี 10 ล้านคน, ญี่ปุ่น 10 ล้านคน, เกาหลีใต้ 10 ล้านคน (เกาหลีใต้มีประชากรทั้งหมด 44 ล้านคน ประชากรที่เล่นโกะมีถึงเกือบ 1 ใน 4 ของประชากรประเทศ), ในไต้หวัน 1 ล้านคน, สหรัฐอเมริกา 1 ล้านคน สมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งญี่ปุ่น ได้จัดการแข่งขันหมากล้อมสมัครเล่นชิงแชมป์โลกขึ้นครั้งแรกในปี 2522 มีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมแข่งขัน 15 ประเทศ และเพิ่มเป็น 29 ประเทศในปี 2525 จึงได้มีการจัดตั้งสหพันธ์หมากล้อมนานาชาติ (อังกฤษ: International Go Federation) ขึ้น ต่อมามีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคม 2558 มีสมาชิกจำนวน 75 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นประเทศในยุโรป ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกสหพันธ์หมากล้อมนานาชาติ ตั้งแต่ปี 2526 และต่อมาในปี 2527 ได้มีการส่งตัวแทนไปแข่งครั้งแรกที่กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น สำหรับการก่อตั้งสมาคมอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2536 ซึ่งมีการก่อตั้ง ชมรมหมากล้อม (โกะ) ประเทศไทย โดยนายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ทำให้มีคนไทยเล่นมากขึ้น มีการบรรจุเป็นกีฬาอย่างเป็นทางการในกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา ต่อมาเมื่อปี 2544 จึงมีการจดทะเบียนเป็น สมาคมกีฬาหมากล้อม และต่อมาในปี 2546 ได้กลายเป็น สมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย สำนักงานตั้งอยู่ที่ ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ทำให้กีฬาหมากล้อมในประเทศไทยมีการแพร่หลายมากขึ้นจนได้รับการบรรจุในกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 24 ที่จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ ได้ทำการศึกษาวิจัยโครงการ การศึกษาผลของการเล่นหมากล้อมที่มีต่อเชาวน์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการเผชิญปัญหา และความคิดเชิงระบบ เพื่อศึกษาวิจัยและวัดผลจากการเล่นหมากล้อมต่อ 4 ทักษะ คือ เชาวน์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา และความคิดเชิงระบบของเยาวชนไทยในระดับมัธยมศึกษาพบว่า เยาวชนที่เล่นกีฬาหมากล้อมมีการเปลี่ยนแปลงทางบวกในด้านพัฒนาเชาวน์ปัญญาความคิดสร้างสรรค์และความคิดเชิงระบบ ช่วยให้ผู้เล่นมีสมาธิและความจดจำดีขึ้น รวมถึงความสามารถในการวางแผนเพิ่มขึ้น